Web for Absolute Reality - วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 3
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  => วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 2
  => วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 3
  => วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 4
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1

ดวงปฐมมรรคมีรูปร่างอย่างไร

ดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็มีลักษณะกลมใสเหมือนกับดวงนิมิต  การที่ธรรมชาติของดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานมีลักษณะเหมือนดวงแก้วกลมใส หลวงพ่อสดจึงนำมากำหนดเป็น "นิมิต"

ในเมื่อ "ดวงนิมิต" กับ "ดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานมีลักษณะกลมใสเหมือนกัน แล้วผู้ปฏิบัติธรรมจะรู้ได้อย่างไรว่า ตอนนี้ดวงนิมิตได้เปลี่ยนเป็นดวงปฐมมรรคแล้ว

 

ความแตกต่างระหว่าง "นิมิต" กับ "ดวงปฐมมรรค"

ความแตกต่างระหว่างดวงนิมิตกับดวงปฐมมรรคมีอย่างน้อย 4 ประการ ดังนี้

1) ขนาดไม่เท่ากัน

โดยปกติแล้ว ขนาดของดวงนิมิตจะเท่ากับลูกแก้วที่เด็กชอบเล่นกัน หรือเท่ากับแก้วตาดำ ไม่ใหญ่ไปกว่านี้ เพราะ ในการกำหนดให้ดวงนิมิตเข้าไปตามฐานนั้น  ผู้เรียนไม่กล้ากำหนดดวงนิมิตให้ใหญ่นัก เพราะ กลัวว่าจะเข้าไปในจมูกไม่ได้  แต่ขนาดของดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อาจจะใหญ่เท่ากับดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ได้

2) ความใสสว่างต่างกัน 

นอกจากที่จะขนาดต่างกันแล้ว ดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็ยังมีความใสสว่างกว่าดวงนิมิตมาก

3) การเห็นโดยรอบ

คำว่า "เห็นโดยรอบ" นี้ พบมากในพระไตรปิฎก ซึ่งพุทธวิชาการก็แปลกันไปต่างๆ นานา ซึ่งไม่ถูกต้อง  บางท่านก็เปรียบไปว่า เหมือนกับแพหรือท่าในน้ำ  ซึ่งจะขึ้นจากด้านไหนก็ได้ ซึ่งเป็นการแปลที่ไม่ถูกต้อง  การเห็นโดยรอบเป็นการเห็นด้วย "ตาใน" ไม่ใช่ตา/จักษุธรรมดา จึงไม่มีทิศทางในการเห็น  เป็นการเห็นที่คล้ายกับมีตาอยู่รอบ "สิ่งที่เห็น" ทั้งภายนอกภายใน 

มีบางท่านอธิบายว่า การเห็นโดยรอบคือ การเห็นโดยรอบตัว 360 องศา ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เพราะ คำนึงแต่การเห็นจากข้างนอกเข้าไปข้างใน  การเห็นโดยรอบเป็นการเห็นจากภายในออกมาภายนอกด้วย

ลักษณะการเห็นโดยรอบนี้  เป็นการเห็นเฉพาะตัว "ปัจจัตตัง"  ถ้าไม่เคยเห็นก็จะไม่เข้าใจ ขออธิบายเรื่อง "ปัจจัตตัง"  นี้เพิ่มเติมดังนี้

เรื่องนี้ สมเด็จโตท่านเล่าให้ญาติโยมฟัง

มีพี่น้องผู้หญิงสองคน คนโตแต่งงานไปก่อน  พอพี่กลับมาบ้าน น้องสาวก็พยายามถามว่า "แต่งงานมันเป็นยังไง"  พี่สาวก็ไม่ยอมบอก บอกได้แต่ว่า ต้องแต่งงานเองแล้วจึงจะรู้  ต่อมาเมื่อคนน้องแต่งงานไปบ้าง  เมื่อกลับมาเจอกัน  พี่ก็ถามน้องสาวกลับว่า  "แต่งงานมันเป็นยังไง"  ทั้งน้องสาวกับพี่สาวก็หัวเราะพร้อมๆ กัน

เรื่องนี้นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่อง "ปัจจัตตัง"  คือ ความสุขจากการร่วมเพศ ถ้าใครเคยผ่านมาแล้วก็จะรู้เหมือนกันทุกคน  และความรู้นั้นก็เหมือนกัน สอดคล้องกัน  แต่ถ้าใครไม่เคยผ่านการร่วมเพศมา ก็จะไม่รู้ 

โดยสรุป การเห็นโดยรอบ คือ การเห็นดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือจะเป็นการเห็นกายธรรมก็ตาม จะเห็นทุกส่วนสัด เห็นทั้งข้างในทั้งข้างนอก เป็นการเห็นจากตาในไม่ใช่ตา/จักษุธรรมดา ส่วนการเห็นดวงนิมิตเป็นการเห็นที่มีทิศทางกำหนด ขอยกตัวอย่างประกอบดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 การส่องกระจก

เชื่อว่าทุกคนเคยส่องกระจกเพื่อดูตัวเองมาแล้วทั้งนั้น  การส่องกระจกนั้น  เราจะเห็นทิศทางเดียว  คือ ด้านหน้าหรือด้านหลัง  ถ้ามีกระจกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง  เมื่อเราดู ก็จะเห็นเพียงทีละทิศทางเท่านั้น ถึงแม้ภาพที่ออกมาจะสะท้อนกันไปมา จนถึงอินฟินิตี้ ( Infinity) ก็ตาม

ตัวอย่างที่ 2 การเขียนแบบบ้าน

ถ้าใครเคยเห็นแบบสร้างบ้านมาบ้าง ก็จะเห็นว่า แบบบ้านมีหลายทิศทาง  ถ้ามองจากด้านบน เลียนแบบการเห็นของนก  ภาษาอังกฤษก็เรียกแบบลักษณะนี้ว่า Bird eye view  แบบบ้านก็จะเขียนให้เห็นเฉพาะหลังคา  แล้วก็จะมีแบบเฉพาะมองจากด้านหน้าบ้าน  ข้างบ้านซ้ายขวา และมองจากหลังบ้าน

จากตัวอย่างข้างต้น  เมื่อกำหนดดวงนิมิต  ผู้ปฏิบัติธรรมจะกำหนดอย่างมีทิศทาง เพราะ ความคุ้นเคยจากการเห็นในปกติตามชีวิตประจำวัน  เมื่อเห็นดวงปฐมมรรค/ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานขึ้นมา จึงจะเปลี่ยนการเห็นอย่างมีทิศทางไปเป็นการเห็นโดยรอบ

4) มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมนี้ มีงานวิจัยของชาวต่างประเทศศึกษาไว้อย่างมากมาย  จนในปัจจุบันแทบจะไม่ต้องอ้างอิงเลย  เช่น การเรียงตัวของคลื่นสมอง  การที่หัวใจเต้นช้าลง หรือแทบจะหยุดเต้นไปเลย  มีการหลั่งของสารเอนโดฟีล ฯลฯ เป็นต้น

ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายนี้ เป็นจุดอ่อนที่สุดของพุทธวิชาการ เพราะ เท่าที่สังเกตจากรายชื่อพุทธวิชาการทั้งหลาย พุทธวิชาการส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดไม่ใช่ "นักปฏิบัติธรรม"  อาจจะมีบางคนเคยมีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมมาบ้าง แต่ก็น้อยมาก น้อยมากจนไม่เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร

อยากจะตั้งข้อสังเกตเพื่อเป็นการแบ่งระหว่างพุทธวิชาการกับพุทธปฏิบัติธรรมว่าแตกต่างกันอย่างไร โดยดูจากข้อเขียนที่เผยแพร่ออกมาจากหนังสือหรือบทความ ดังนี้

พุทธวิชาการนั้น จะตีความหมายการปฏิบัติใหม่ เช่น สมาธิที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเป็นสมาธิที่มากเกินไป มากเกินความจำเป็น  หรือการตีความการปฏิบัติธรรมแบบสมถะ/วิปัสสนาเป็นการตีความแบบแคบ  การปฏิบัติธรรมสามารถตีความแบบกว้างได้อีก ทำนองนี้เป็นต้น

การตีความทั้ง 2 แบบข้างต้น เป็นการตีความที่ผิดอย่างแน่นอน เพราะขัดแย้งกับพุทธพจน์ [ในส่วนนี้จะมีหลักฐานอ้างอิงเพิ่มเติมภายหลัง]

ดังนั้น พุทธวิชาการ จึง "ไม่รู้" และ "ไม่เข้าใจ"  การปฏิบัติธรรมจริงๆ  เป็นการเข้าใจเหมือนการดูหนังดูภาพยนตร์  ยกตัวอย่างเช่น  ถ้าใครเคยดูหนังเรื่อง Twister ซึ่งเป็นหนังเกี่ยวกับพายุทอร์นาโด (Tornado) เมื่อเราดูหนังเรื่องนี้  เราจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับความโหดร้ายของพายุ ทอร์นาโด (Tornado) เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประชาชนผู้ที่เคยถูกพายุทอร์นาโด (Tornado) ถล่มมาแล้ว

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เรื่องหิมะ คนไทยที่ไม่เคยไปต่างประเทศมักจะถามผู้เขียนเสมอๆ ว่า หิมะมันเป็นยังไง  ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ก็เคยดูหนังมาแล้วทั้งนั้น  การเห็นหิมะจากการดูหนังนั้น ถ้าดูภายในโรงหนังที่ติดแอร์เย็นฉ่ำ อาจจะซาบซึ้งกับความหนาวเย็นของหิมะบ้าง  แต่ถ้าเป็นดูหนังเกี่ยวกับหิมะ ซึ่งเป็นหนังกลางแปลง กลางเดือนเมษายนแล้ว  ผู้ดูแทบจะไม่เข้าใจเลยว่า หิมะมันหนาวเย็นอย่างไร

การดูหนังเกี่ยวกับหิมะในหนังกลางแปลงตอนกลางเดือนเมษายนนั้น ก็เปรียบเทียบได้กับความเข้าใจของพุทธวิชาการที่เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม

ทั้ง 4 ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั้น แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการเห็นดวงนิมิตกับการเห็นดวงธรรม ซึ่งอาจจะทำให้พุทธวิชาการแต่เพียงอย่างเดียว ไม่เคยปฏิบัติธรรมหรืออาจจะปฏิบัติธรรมมาบ้าง แต่ไม่เคยพบปฏิเวธหรือผลของการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องเลย เข้าใจขึ้นมาบ้างว่า การเห็น ของวิชชาธรรมกายนั้นเป็น ของจริง  ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

Today, there have been 9 visitors (13 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free