Web for Absolute Reality - นิพพานกับความหมายตรงตัว3
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1
  => นิพพานกับความหมายตรงตัว2
  => นิพพานกับความหมายตรงตัว3
  => นิพพานกับความหมายตรงตัว4

[ตรงนี้ขอแทรกเพื่ออธิบายว่า คำว่านิจจัง/สุขัง/อัตตานี้เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) คำประเภทนี้มีหน้าที่สำหรับอธิบายสภาพของคำนาม (noun) เช่นคำว่า เสื้อขาว  ขาวนั้นมีไว้เพื่อบรรยายสีของเสื้อ   ดังนั้น ถ้ามีใครจะเขียนหรือพูดว่า "ไม่มีอัตตา" นั้น แสดงว่า ไม่ได้เข้าใจในหน้าที่ของคำ  ขอยกตัวอย่างให้เห็นอย่างชัดเจนว่า  ถ้ามีคนบอกว่า "ประเทศไทยไม่มีหิมะ"  ประโยคนี้ ถูกต้องทั้งในด้านธรรมชาติและภาษา เพราะ หิมะเป็นคำนาม  เราจึงปฏิเสธได้ว่า "ไม่มี" แต่ถ้ามีคนกล่าวว่า ประเทศไทย ไม่มี "ขาว"  อันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะ "ขาว" เป็นสภาวะหรือสภาพ เราไม่สามารถบอกว่า คำคุณศัพท์ (adjective) ไม่มี]

 

ข้อที่น่าสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ พระไตรปิฎกเมื่อกล่าวถึงนิพพานจะใช้คำว่า "อายตนะ", "อมตนิพพาน", และ "นิพพาน"   ไม่ได้ใช้คำว่า "อายตนนิพพาน"  คำว่าอายตนนิพพานนั้น ขอย้ำอีกครั้งเป็นภาษาไทย

ถ้ากล่าวถึงหนังสือของหลวงพ่อสด หลวงพ่อใช้คำนี้เพื่อหมายถึง "ที่" ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะไป "สถิตอยู่"   

ถ้าจะมีคำถามสงสัยว่า ทำไมพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะต้องมี "ที่" สำหรับพระองค์และพระอรหันต์สาวก  ก็ขออธิบายว่า เพราะธรรมชาติเป็นเช่นนั้น

สำหรับคำอธิบายต่อไปนี้ ผู้เขียนขอเปรียบเทียบกับกฎของทางวิทยาศาสตร์  คือ กฎการเคลื่อนที่ของฟิสิกส์ มีหลักการที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปว่า

 

กฎการเคลื่อนที่ของฟิสิกส์เป็นจริงเสมอในทุกแห่งทุกสถานที่ ไม่มีสถานที่ไหนในเอกภพ (universe) ที่จะพิเศษกว่าสถานที่อื่นที่จะทำให้ฟิสิกส์ของการเคลื่อนที่เป็นจริงเฉพาะสถานที่ดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีบริเวณใดที่เราต้องดัดแปลงกฎการเคลื่อนที่ทางฟิสิกส์ให้สอดคล้องกับความเร็วของสถานที่นั้น

(ที่มา: ไพรัช ธันยพงษ์. 2549. ไอน์สไตน์ หลุมดำ และบิกแบง. หน้า 19)

 

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้

สมมุติว่า เรามีลูกเทนนิสอยู่ในมือ  เมื่อเรานั่งอยู่ที่บ้าน เราโยนลูกเทนนิสขึ้นไปในแนวดิ่ง  ลูกเทนนิสก็จะตกลงมาในแนวดิ่ง เข้ามาอยู่ในมือเราเช่นเดิม   ต่อมา สมมุติว่า เรานั่งอยู่บนรถไฟ  ถ้าเราโยนลูกเทนนิสขึ้นไปในแนวดิ่ง ลูกเทนนิสก็ยังตกลงมาในมือเราเหมือนเดิม  ทั้งๆที่ ลูกเทนนิสควรจะตกลงไปกับพื้นรถไฟ เพราะรถไฟกำลังเคลื่อนอยู่  

ถ้ายังมองภาพไม่ออก เพราะรถไฟถึงแม้จะเร็ว แต่ก็ยังช้าอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของแสง  ต่อไปสมมุติว่า เรากำลังนั่งอยู่บนจรวดที่มีความเร็วสูงมาก  สมมุติว่าใกล้ความเร็วของแสงเลย   ถ้าเราโยนลูกเทนนิสขึ้นไป  ลูกเทนนิสก็ยังตกลงมาในมือเราเหมือนเดิม  เพราะเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ของฟิสิกส์เป็นจริงเสมอในทุกแห่งทุกสถานที่  ทั้งๆ ที่โดยสามัญสำนึกแล้ว ลูกเทนนิสมันน่าจะตกห่างจากมือเราไปมาก

จากตัวอย่างทางฟิสิกส์ข้างต้น  จะเห็นว่า มนุษย์เราก็ต้องการ "ภพ" เป็นที่อาศัย  เทวดา พรหม อรูปพรหมก็ต้องการ "ภพ" เป็นที่อาศัย แม้กระทั่งสัตว์ในอบายภูมิก็ต้องการ "ภพ" เป็นที่อยู่อาศัย แสดงว่า ที่อยู่อาศัยเป็นหลักการพื้นฐานของมนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม แล้วทำไม พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จึงจะไม่มีที่อยู่ที่อาศัย เนื่องจาก พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ก็คือ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหมนั่นเอง  แต่พัฒนาตนเองด้วยสมถะ/วิปัสสนากรรมฐาน จนใจ/จิต/วิญญาณพัฒนาไปจะหมดกิเลส

Today, there have been 2 visitors (3 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free