Web for Absolute Reality - นิพพานกับความหมายตรงตัว4
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1
  => นิพพานกับความหมายตรงตัว2
  => นิพพานกับความหมายตรงตัว3
  => นิพพานกับความหมายตรงตัว4

ข้อผิดพลาดของนายพายุช้างสาร

ข้อความของนายพายุช้างสารนั้น สามารถแยกย่อยออกเป็นข้อๆ ได้ดังนี้

1) อายตนนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร

2) อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ

3) อายตนนิพพานเป็นเหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด

4) อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)

5) คนที่เชื่อว่า อายตนนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉาน

1) อายตนนิพพานไม่เป็นปัญหาสำหรับนายพายุช้างสาร

ข้อนี้ ผู้เขียนพยายามทำใจให้กว้างไว้  โดยเบื้องต้นต้องยอมรับข้อเขียนของนายพายุช้างสารเสียก่อนว่าถูกต้อง  ดังนั้น เมื่อนายพายุช้างสารกล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับ "อายตนนิพพาน" เป็นเรื่องง่ายของนายพายุช้างสาร  ผู้ก็ต้องยอมรับก่อนว่า นายพายุช้างสารคงจะมีหลักฐานทางวิชาการแน่นหนา  น่าจะเรียนในโลกและเรียนในทางธรรมในขั้นสูง  นอกจากนั้นแล้ว ก็คงจะปฏิบัติธรรมจนได้ผลดีพอสมควร หรือดีมากๆ  จนถึงกระทั่งว่า เรื่องนิพพานซึ่งนักวิชาการถกเถียงกันจนหน้าดำหน้าแดง ก็ยังหาข้อยุติกันไม่ได้  จนกระทั่งแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเป็นอย่างน้อย

แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนอยากจะให้ผู้อ่านตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนว่า ข้อความของนายพายุช้างสารเป็นจริงหรือไม่?  เพราะดังได้กล่าวมาแล้วว่า ประเด็นเรื่องนิพพานนี้ เป็นที่ถกเถียงกันในวงวิชาการมาช้านาน  วงวิชาการที่ว่านั้น ก็มีผู้ทรงความรู้มากมายที่เข้ามาร่วมวงถกเถียงกัน ทั้งผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และพวกเปรียญต่างๆ  ซึ่งข้อถกเถียงกังกล่าวนั้น ยังไม่ยุติว่า ฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด อาจจะกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ประเด็นเรื่องอายตนนิพพานยังเป็นปัญหาสำหรับวงวิชาการอยู่  ไม่ทราบว่านายพายุช้างสารมีองค์ความรู้ใด จึงอาจหาญกล่าวว่า "ส่วนเรื่องอายตนนิพพานนั้น ผมก็ไม่ทราบว่าจะพยายามคิดให้เป็นปัญหาทำไม ในเมื่อมันก็ไม่ใช่ปัญหาเสียหน่อย"

2) อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนนิพพาน ตามรูปศัพท์ แปลว่า ดับอายตนะ" นี้  ทำให้ผู้เขียน "รู้" และ "เข้าใจ" ว่า นายพายุช้างสารไม่ได้เข้าใจเรื่องนิพพานเลยแม้แต่น้อย  เพราะ ในพระไตรปิฎกไม่ได้ใช้คำว่า "อายตนนิพพาน" แต่จะใช้คำว่า "อายตนะ", "อมตนิพพาน", และ "นิพพาน"  ดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

คำว่า "อายตนนิพพาน" เป็นภาษาไทย ซึ่งในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อสด ก็ขอยืนยันว่า หลวงพ่อสดหมายถึง "ที่" ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะไปอยู่ เมื่อปรินิพาน/นิพพานไปแล้ว   เมื่อเป็นภาษาไทยแล้วก็ไม่ต้องไปแปลอีกแล้ว นี่คือ "ความไม่รู้" ประการที่ 1 เกี่ยวกับคำศัพท์ของนิพพานของนายพายุช้างสาร

ประการที่ 2  ความหมายตรง (Denotative meaning) ของนิพพานไม่ได้แปลว่า "ดับ"  ดังนั้น ไม่ควรนำความหมายโดยนัยมาใช้กับบริบท (context) นี้

เพียงหลักฐานเพียงข้อนี้ ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า นายพายุช้างสารคงศึกษาทั้งด้านวิชาการทางโลกและทางธรรมไม่มากนัก  เพราะ เรื่องง่ายๆ แค่นี้ นายพายุช้างสารยังไม่ทราบ กล่าวคือ คำไหนเป็นภาษาไทย  คำไหนเป็นภาษาบาลี  นอกจากนั้นแล้ว ถ้ารู้ว่า ผู้ใดใช้ศัพท์คำไหน เช่น หลวงพ่อสดใช้ศัพท์คำว่า "อายตนนิพพาน"  นักวิชาการที่ดีเข้าก็จะต้องศึกษาและตีความ "อายตนนิพพาน" ในความหมายที่หลวงพ่อสดหมายถึง  ไม่ใช่ไปตีความใหม่ตามความคิดของตนเอง แล้วการศึกษามันจะได้ผลตรงตามความเป็นจริงได้อย่างไร

3) อายตนนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" ยิ่งแสดงถึงความไม่รู้ของนายพายุช้างสารมากขึ้นไปอีก เพราะนิพพานไม่ได้เป็น "เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" แต่เป็นจุดหมายปลายทาง (end) ของพุทธศาสนิกชน

ข้อเขียนที่ว่า "อายตนนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด" นั้น สามารถ "ฟันธง" ได้เลยว่า นายพายุช้างสารไม่ได้ศึกษาในเรื่องศาสนามาเท่าใดนัก  เพราะ อายตนนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของพุทธศาสนิกชน เป็นเรื่องง่ายๆ จริงๆ  ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครมาสับสนในเรื่องนี้  ที่สับสนกันก็มักจะเป็นว่า นิพพานสูญไปเลยหรือไม่ หรือนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตาอะไรในทำนองนั้น   ผู้เขียนบทความนี้ก็เพิ่งพบว่า มีคนเข้าใจผิดว่า "อายตนนิพพานเป็น เหตุ บ่อเกิดหรือแดนเกิด"

4) อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)

ข้อความที่ว่า "อายตนนิพพานไม่เป็นสถานที่ (แดนนิพพาน)" นี้ต้องอธิบายกันยาว  เพราะ อายตนนิพพานนั้น ผู้ที่ "รู้" และ "เข้าใจ" จริงๆ ก็คือ พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ รวมถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย 

ดังนั้น เมื่อพิจารณาในแง่ภาษาศาสตร์  นิพพาน/พระนิพพาน/อายตนนิพพานนั้น ไม่มีภาษาของมนุษย์ทั่วไปที่จะบรรยายได้ตรงตามเป็นจริง  พระพุทธเจ้าจึงทรงอธิบายโดยใช้ศัพท์ในภาษาบาลีเพื่อเทียบเคียงให้เข้าใจเท่านั้น  ในบางพระสูตรจึงทรงใช้คำ "ปฏิเสธ" ว่าไม่ใช่สิ่งโน้น ไม่ใช่สิ่งนี้

ดังนั้น ถ้าจะ "จับผิด" กันจริง หรือยึดหลักภาษาศาสตร์จริงๆ เราไม่สามารถใช้คำว่า "สถานที่" ที่หมายถึง "สถานที่ในโลกมนุษย์" กับอายตนนิพพานได้   แต่ถ้าต้องการสื่อสารกันให้เข้าใจ  เราก็สามารถจะใช้คำว่า "สถานที่" กับอายตนนิพพานได้    ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะสื่อสารกันได้อย่างไร

ในประเด็นนี้ ถ้านายพายุช้างสารจะยืนยันว่า อายตนนิพพานไม่ใช่สถานที่ (เมื่อเทียบเคียงกับภาษาของมนุษย์ที่ไม่เคยเห็นนิพพาน)  นายพายุช้างสารก็ต้องหาหลักฐานมา "แย้ง" พระสูตรทั้ง 3 หลักฐานข้างต้น  เพราะ ความหมายของพระสูตรดังกล่าวนั้น  แสดงว่า อายตนนิพพาน "มีอยู่"

5) คนที่เชื่อว่า อายตนนิพพานเป็นสถานที่ (แดนนิพพาน) เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉาน

เมื่อถึงข้อสุดท้ายนี้ จึงไม่มีคำวิพากษ์วิจารณ์อะไร เพราะ จากหลักฐานที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น แสดงให้เห็นว่า นายพายุช้างสารไม่ได้มีองค์ความรู้เกี่ยวกับนิพพานแม้แต่น้อย  และโดยสรุปแล้ว นายพายุช้างสารเองนั่นแหละที่ "เป็นคนอ่อนภาษา  อ่านหนังสือไม่แตกฉานเสียมากกว่า" นอกจากนั้น นายพายุช้างสารยังเป็นคนที่ฉลาดน้อย แต่คิดว่า ตัวเองฉลาดมากอีกด้วย

 

สรุป

จากที่ผู้เขียนได้อธิบายมาจนยืดยาวถึงขนาดนี้ สามารถชี้ให้เห็นได้ว่า ในแวดวงผู้ที่สนใจในพระศาสนา มีบุคคลหน้าใหม่เข้ามาร่วมปะทะสังสรรค์กันอยู่เสมอๆ  ในประเด็นถือว่าเป็นสิ่งดี  แต่ประเด็นที่น่ากังวลใจก็คือ บุคคลหลายคนไม่ได้มีองค์ความรู้ที่แน่นหนาอะไร แต่เห็นว่า เว็บไซต์ต่างๆ นั้น สามารถเข้าร่วมปะทะสังสรรค์กันได้  เพียงแต่เสียค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งเท่านั้น   บุคคลหลายคนที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง อ่านหนังสือไม่มากนัก แต่โมหะนั้นมากมายล้นเหลือ อย่างเช่น นายพายุช้างสารที่ยกมาข้างต้น  มักจะดูถูกคนอื่นๆ ที่มีความเห็นแตกต่างจากตนว่า โง่เง่าเต่าตุ่น  โดยไม่เคยส่องกระจกเพื่อชะโงกดูเงาของตนเองเลยว่า  ตนเองนั่นแหละโง่เง่าเต่าตุ่นตัวจริงเสียงจริง

ประการสุดท้ายก่อนจาก ฟรานซิส เบคอน (1561-1626) กล่าวว่า ความรู้นั้นเองคืออำนาจ (Knowledge itself is power.) ผู้ที่มีความรู้จริงก็สามารถนำไปสร้างอำนาจ สร้างฐานะ สร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้  สำหรับคนที่รู้ไม่จริง เช่น นายพายุช้างสารคนนี้ อำนาจของความไม่รู้ก็กลับมา "ฆ่า" ชื่อเสียงหน้าตาของตนเองได้  น่าสมเพทเวทนาแท้ๆ

 

----------------------------------------------------------------------------

มนัส โกมลฑา

Ph.D. (Integrated Sciences/สหวิทยาการ)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

นครราชสีมา

Email: komoltha4299@gmail.com;komoltha4299@yahoo.com

Web site: http://komoltha.page.tl

Today, there have been 4 visitors (7 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free