Web for Absolute Reality - “ปราบมาร” จริงหรือไม่จริง (2)
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  => ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/2
  => ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/3
  => ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/4
  => “ปราบมาร” จริงหรือไม่จริง (2)
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1

ปราบมาร จริงหรือไม่จริง (2)

 

บทความนี้เป็นบทความชิ้นที่ 2 ที่จะเริ่มลงลึกกันไปในหนังสือปราบมารมากยิ่งขึ้น  ผมจะขอตั้งข้อสมมุติฐานขึ้นมาเสียก่อนดังไปนี้  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบทความต่อไป  ข้อสมมุติฐานมีดังต่อไปนี้คือ

 

1) มารมีจริงหรือไม่  เพราะ ถ้ามารไม่มี ก็จะไม่มีการปราบมาร เพราะ เราจะไปปราบสิ่งที่ไม่มีได้อย่างไร  มารในความหมายนี้ หมายถึง มารที่มีตัวตนจริงๆ ไม่ได้หมายถึง มาร ที่เป็นความรู้สึกนึกคิด หรือมารอื่นๆ

 

2) พระพุทธเจ้าทรงปราบมารหรือไม่  ถ้าพระพุทธเจ้าทรงปราบมารด้วยพระองค์เอง  มารก็จะต้องเหลือมาจนถึงยุคปัจจุบัน  เพราะถ้าพระพุทธเจ้าทรงปราบมารจนไม่เหลือแล้ว ก็ไม่ต้องมีการปราบมารในยุคสมัยนี้อีก

 

3) หลวงพ่อสดปราบมารหรือไม่  ถ้าหลวงพ่อสดปราบมารก็ต้องปราบไม่หมด เพราะ ถ้าปราบหมดแล้ว  ก็ไม่ต้องถึงยุคของคุณลุงการุณย์

 

จากข้อสมมุติฐานข้างต้น ต่อไปผมจะพิสูจน์ว่า มาร มีตัวตนจริงๆ อยู่ในพระไตรปิฎกประกอบด้วย ที่ต้องอ้างพระไตรปิฎกประกอบก็เป็นเพราะว่า เป็นความจำเป็น   ถ้าผมอ้างอิงเฉพาะการปราบมารที่ได้จากการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อสดและของคุณลุงการุณย์แต่เพียงอย่างเดียว  คนไม่เชื่อก็ปฏิเสธอย่างหัวชนฝาได้อีก  ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องอ้างอิงจากพระไตรปิฎกประกอบด้วย

 

หลังจากนั้น ผมก็จะพิสูจน์ว่า พระพุทธเจ้าของเราปราบมารไม่หมด  หรือปราบได้บ้าง ไม่ได้บ้าง มารยังหลงเหลือมาจนถึงยุคของหลวงพ่อสด  และหลวงพ่อสดก็ปราบมารไม่หมดเช่นเดียวกัน จนหลงเหลือมาถึงยุคของคุณลุงการุณย์

 

ในการศึกษาวิเคราะห์ที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะใช้หลักวิชาการทางภาษาศาสตร์ (linguistics) และหลักการวิธีวิทยา (methodology) ของปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) ซึ่งกำลังเป็นหลักการวิธีวิทยา (methodology) ที่นิยมใช้ในการศึกษาทางสังคมวิทยา (sociology) ในปัจจุบัน  หลักการดังกล่าวนี้พัฒนามากจากวิธีการหาความรู้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)  เนื่องจากวิธีการหาความรู้ความจริงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) มีข้อบกพร่องอย่างมาก เมื่อนำมาศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคม หรือทางมนุษยศาสตร์

 

โปรดติดตามต่อไป...ขณะนี้กำลังเขียนลงลึกในรายละเอียด

 

 

 

 

มนัส โกมลฑา

Ph.D. (Integrated Sciences/สหวิทยาการ)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

นครราชสีมา

http://komoltha.page.tl

Today, there have been 1 visitors (2 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free