Web for Absolute Reality - "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?3
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  => "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?2
  => "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?3
  => "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?4
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1

ผลของการศึกษาวิเคราะห์

ประการแรก

ข้อความที่ว่า "นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา" นั้นถูกต้องตามพุทธพจน์แล้วทุกประการ

คำอธิบาย

ในการโจมตีคำสอนของวิชชาธรรมกายนั้น  ฝ่ายตรงข้ามนั้น "ยอมรับ" ว่า นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง  เพราะมีข้อความในพระไตรปิฎกเป็นจำนวนมากยืนยันไว้  ความหมายที่ว่า "นิพพานคงที่/เที่ยง" ซึ่งหมายถึง "นิพพานเป็นนิจจัง"  และความหมายที่ว่า "นิพพานมีความสุข" ซึ่งหมายถึง "นิพพานเป็นสุขัง" นี่เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป  ไม่มีคู่ทะเลาะคู่ใดถกเถียง/โต้แย้งกันในเรื่องนี้  พุทธเถรวาททั้งหมดยอมรับในเรื่องนี้

ความหมายของหลวงพ่อสดที่ต้องการสื่อสารไปให้คนฟังนั้น อธิบายให้เห็นภาพพจน์เลย ต้องขอยืมหลักการของทางคณิตศาสตร์  กล่าวคือ ในความหมายของหลวงพ่อสดนั้น

นิจจัง = สุขัง = อัตตา

ในความเป็นจริงแล้ว คำอธิบายที่ว่า "นิจจัง = สุขัง = อัตตา" ยังไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงนัก เป็นเพียงคำอธิบายให้เห็นภาพพจน์เท่านั้น  อันที่จริงแล้ว  ความหมายของนิจจัง/สุขัง/อัตตาเป็นความหมายเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน แต่แยกอธิบายออกเพื่อให้เข้าใจ ถ้าบอกว่า "สิ่ง" หนึ่งเป็นนิจจัง  โดยไม่ได้บอกว่าเป็นสุขัง/อัตตา ด้วย ก็พึงโปรดรู้ด้วยว่า "สิ่ง" นั้นเป็น "นิจจัง/สุขัง/อัตตา" ไปโดยอัตโนมัติ  เพราะในการพูดหรือเขียนครั้ง สำนวนภาษาในช่วงนั้น ไม่เหมาะสมถ้าจะกล่าวยาวๆ  เป็นต้น

โดยสรุปอย่างสั้นๆ

ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "นิจจัง" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น สุขัง/อัตตา เป็นโดยอัตโนมัติ

ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "สุขัง" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น นิจจัง/อัตตา เป็นโดยอัตโนมัติ

ถ้ากล่าวว่าสิ่งใดเป็น "อัตตา" สิ่งนั้นก็ต้องเป็น นิจจัง/สุขัง เป็นโดยอัตโนมัติ

แล้วหลักในการอธิบาย "สิ่ง" ต่างๆ  นั้น  ถ้าไม่แยกคำออกมาอธิบายออกเป็นส่วนๆ แล้ว จะทำให้ "เข้าใจ" ลำบาก หรือเข้าใจยาก  ดังนั้น จึงพึงควรเข้าใจว่า "สิ่ง" ทุกอย่างนั้น ประกอบกับเป็นองค์รวม ไม่สามารถแยกออกได้  แต่ในการอธิบายต้องแยกอธิบายที่ละอย่างที่ละส่วน

ตรงนี้ผู้ให้ผู้เขียนเข้าใจให้ดี จะเห็นว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตา เป็นการอธิบาย "สิ่ง" เดียวกัน คือ นิพพาน  ไม่ใช่อธิบาย "สิ่ง" จำนวน 3 ชิ้น  กล่าวคือ ถ้ามีนิพพาน 3 แห่ง 

นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "นิจจัง"

นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "สุขัง"

นิพพานแห่งหนึ่งเป็น "อัตตา"

ดังนั้น อาจจะตีความไปได้ว่า นิจจัง/สุขัง/อัตตา มีความแตกต่างกันในทางความหมาย

จากหลักฐานเพียงแค่นี้ ก็พิสูจน์ได้อย่างชัดแจ้ง/แจ่มชัดแล้วว่า ข้อความที่ว่า "นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา" นั้นถูกต้องตามพุทธพจน์แล้วทุกประการ

ประเด็นโจมตีของฝ่ายตรงข้าม

ในข้อเขียนของฝ่ายที่โจมตีคำสอนของวิชชาธรรมกาย มีบางท่านเขียนยอมรับแบบ "เสียงอ่อยๆ" ว่า ยอมรับว่า "นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง"  แต่ไม่ยอมรับว่า "นิพพานเป็นอัตตา"

อ้าว! ทำอย่างนั้นได้อย่างไง.....

ก็ในเมื่อหลวงพ่อสด เจ้าของข้อความ ท่านต้องการให้ผู้อ่านเข้าใจว่า "นิจจัง = สุขัง = อัตตา" ท่านจึงสอนทุกครั้งว่า "นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา" ไม่เคยแม้แต่ครั้งเดียวที่จะสอนว่า "นิพพานเป็นอัตตา"

นอกจากนั้นแล้ว โดยสภาพของศัพท์เอง นิจจัง/สุขัง/อัตตา เป็นคำอธิบายสภาวะเดียวกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น  การที่ผู้วิจารณ์หรือผู้โจมตีไปเอาแต่เพียงคำว่า "นิพพานเป็นอัตตา" มา  ตัด "นิจจัง/สุขัง" ที่สำคัญมากๆ  ออกไป  ที่ว่าสำคัญมากๆ นั้นก็เพราะว่าพุทธเถรวาทยอมรับกันโดยทั่วไปว่าถูกต้อง

การที่ตัดเอามาวิเคราะห์เพียงแต่ว่า หลวงพ่อสดสอนว่า "นิพพานเป็นอัตตา"  มันเป็นการกระทำที่ถูกต้องอย่างมีมารยาทและเทคนิควิธีการของนักวิชาการที่มีคุณธรรมจริยธรรมแล้วหรือ! ขอให้ผู้อ่านลองตรึกตรองดูทีรึ... แล้วลองตรองดูอีกว่า.....

ผู้ที่เขียนหรือกล่าวข้อความดังกล่าว โง่หรือแกล้งโง่.........กันแน่

ประการที่สอง

คำว่า "นิจจัง/สุขัง/อัตตา" นั้นในข้อความ "นิพพานเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา" เป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) ไม่ใช่คำนาม (noun) อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจแบบโง่ๆ

บางท่านอาจจะตั้งข้อสงสัยอีกว่า คำคุณศัพท์ (Adjective) กับคำนาม (noun) มันจะแตกต่างกันถึงขนาดไหน  ความหมายน่าจะคล้ายๆ กัน

ผู้เขียนขอยืนยันว่า แตกต่างกันมาก แต่ไม่ถึงขนาด "ฝ่าเท้าของคนที่นั่งอยู่ก้นเหว กับหลังมือของคนที่อยู่บนท้องฟ้า" ยังไม่ถึงขนาดนั้น  เมื่อยังไม่ถึงขนาดนั้น แล้วมันแตกต่างกันขนาดไหน

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างของคำว่า happy-happily-happiness ก็แล้วกัน  ความหมายที่นำมานี้ นำมาจาก พจนานุกรมเล็กซิตรอน" หรือ "LEXiTRON" ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งได้ให้ความหมายและประเภทของคำทั้ง 3 คำไว้ดังนี้

1) happy  [ADJ]; มีความสุข

2) happily  [ADV]; อย่างมีความสุข

3) happiness  [N]; ความสุข

จะเห็นว่า คำว่า happy มีคำบอกประเภทของคำว่า  [ADJ] หมายถึงว่า คำนี้เป็นคำคุณศัพท์ (adjective)  ในทำนองเดียวกัน happily เป็นคำวิเศษณ์ (adverb) และคำว่า happiness เป็นคำนาม (Noun)

ดูการใช้งานของคำทั้ง 3 คำข้างต้น ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างโดยสมมุติเหตุการณ์ว่า มีคนสองคนคุยกัน  แล้วพูดถึงบุรุษที่สามซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน แต่ห่างๆ  ผู้พูดและผู้ฟังสามารถมองเห็นบุรุษที่สามได้  ในขณะที่พูดคุยกันอยู่  ดังนี้

1) He is happy.

2) He is a happy man.

3) He smiles happily.

4) Happiness is a property of persons.

ประโยคที่ 1) He is happy. ประโยคนี้ ผู้พูดพูดเพื่อบรรยายสภาพหรือสภาวะของ "He" ว่า กำลังมีความสุขในขณะที่พูดประโยคนั้น 

ประโยคที่ 2) He is a happy man. ประโยคนี้ ผู้พูดพูดเพื่อบรรยายว่า  "He" เป็นคนที่โดยทั่วๆ ไปแล้ว มีความสุข คืออาจจะมีความทุกข์บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วมีความสุข

ทั้ง 2 ประโยคข้างต้นนั้น  บอกตำแหน่งของคำคุณศัพท์ (adjective) ว่า ปรากฏอยู่ได้ 2 ตำแหน่งคือ

1) ตามหลัง verb to be [is/am/are/was/were] และมีหน้าที่เพื่อบรรยายสภาพของประธาน

2) อยู่หน้าคำนาม เพื่อขยายความให้คำนามเหล่านั้น ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร อ้วน ต่ำ ดำ ขาว สุข ทุกข์ ฯลฯ เป็นต้น

ประโยคที่ 3) He smiles happily. ประโยคนี้ ผู้พูดพูดเพื่อบรรยายว่า  "He" กำลังยิ้มและยิ้มอย่างมีความสุขด้วย ไม่ใช่ยิ้มแห้งๆ เหมือนดั่งคนไทยในยุคประชานิยมแบบเอื้ออาทรที่ผ่านมา  หรือคนไทยที่กำลังถูกเจ้านายตำหนิ

ประโยคที่ 4) Happiness is a property of persons. ผู้เขียนยกตัวอย่างขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่า คำคุณศัพท์ (adjective) นั้น  ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นประธานได้  เมื่อต้องการที่จะนำความหมายว่า "สุข/happy" ขึ้นมาเป็นประธาน ก็ต้องเปลี่ยนประเภทของคำจากคำคุณศัพท์ (adjective) ให้เป็นคำนาม (noun) เสียก่อน 

Happy จึงเปลี่ยนเป็น happiness

สุข จึงเปลี่ยนเป็น ความสุข  เป็นต้น

บางคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมผู้เขียนต้องยกตัวอย่างเป็นภาษาอังกฤษด้วย  ทำไมไม่ยกตัวอย่างเป็นภาษาจีน หรือภาษาเยอรมันไปเสียเลย 

ที่ต้องยกตัวอย่างเป็นภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาจีนก็เพราะว่า ภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษเป็นภาษาอยู่ในตระกูลเดียวกัน  ทั้งภาษาบาลีกับภาษาอังกฤษนั้น ภาษาไทยรับเข้ามาใช้เหมือนกัน จะทำให้อธิบายได้เข้าใจง่ายขึ้น  ส่วนภาษาจีนถึงแม้ว่า ภาษาไทยรับมาเยอะเหมือนกัน แต่เป็นคนละตระกูลกับภาษาบาลี

จะเห็นว่า ภาษาจีนเป็นภาษาที่อยู่คนละตระกูลกับภาษาบาลี  ผู้เขียนจึงไม่ยกมาเป็นตัวอย่าง  แล้วทำไมไม่ยกตัวอย่างที่เป็นภาษาเยอรมันล่ะ  อันนี้ก็ตอบง่ายๆ แบบซื่อๆ ว่า ผู้เขียนไม่เคยเรียนภาษาเยอรมัน  เป็นคำตอบสุดท้ายแบบง่ายๆ ที่สุด

กลับมาที่คำว่า "นิจจัง/สุขัง/อัตตา"  ทั้ง 3 คำนั้น คำว่า "นิจจัง/สุขัง/" ไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งความหมายและคำศัพท์  คำว่า "อัตตา" นี้ต้องการคำอธิบายให้มากๆ ดังนี้

ก่อนอื่นอย่าลืมว่า  ประเด็นที่เรากำลังสนใจกันอยู่นี้ นำมาจาก "พระไตรปิฎกภาษาไทย" มิได้นำมาจากพระไตรปิฎกภาษาบาลี  ทุกคำที่นำเสนอในที่นี้เป็นภาษาไทยไปแล้วทั้งสิ้น

คำว่า "อัตตา" นั้น  พระไตรปิฎกภาษาไทย รับมาจากภาษาบาลีแล้ว เป็นการรับมาแบบทับศัพท์  และกำหนดให้เป็นคำประเภทคำคุณศัพท์ (Adjective) ในกรณีที่เป็นคำนาม พระไตรปิฎกรับมาจากภาษาบาลีโดยแปลเป็นคำว่า "ตน"

หลักฐานๆๆๆๆๆ.......ผู้เขียนเห็นว่า ผ&

Today, there have been 5 visitors (7 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free