Web for Absolute Reality - "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?2
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  => "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?2
  => "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?3
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1

อนัตตลักขณสูตรอยู่ในพระวินัยปิฎก เล่ม มหาวรรคภาค 1 ตั้งแต่ข้อที่ 20-24 ดังนี้

 [20] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย  รูปเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่ารูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.

เวทนาเป็นอนัตตา ..........

สัญญาเป็นอนัตตา ..........

สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ..........

วิญญาณเป็นอนัตตา ..........

ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์

[๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉนรูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.

. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?

. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า.

. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?

. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.

. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง?  ...................

. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ...................

. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ...................

. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ...................

ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ

[๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ...................

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง...................

สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ...................

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง...................

[๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลินภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.

อนัตตลักขณสูตร จบ

ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์.

ปฐมภาณวาร จบ

 

ก่อนที่จะเข้าหาเนื้อความต่อไป ก่อนอื่นต้องขออธิบายวิธีการศึกษาภาษาของนักภาษาศาสตร์ก่อนว่า เวลาจะศึกษาภาษาใดๆ ก็ตาม  นักภาษาศาสตร์จะต้อง "รู้" ให้ได้ก่อนเลยว่า คำที่จะวิเคราะห์นั้นเป็นคำประเภทใด  เพราะ ประเภทของคำจะบอก "ตำแหน่ง" และ "หน้าที่" ของคำนั้นๆ  ถ้าไม่รู้ประเภทของคำ ไม่รู้  "ตำแหน่ง" และ "หน้าที่" ของคำ การวิเคราะห์คำนั้นก็จะไม่ถูกต้องหรือไม่สามารถจะวิเคราะห์ได้เลย

สำหรับคำว่า "อนัตตา" ของพระไตรปิฎกแปลหรือพระไตรปิฎกภาษาไทยนั้น เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ไม่ใช่คำนาม (noun) การแปลก็ควรจะระมัดระวังให้ดี  ในกรณีที่เป็นคำนาม จะเขียนว่า "อนัตตตา"  ขอสังเกตก็คือ ตัวอักษร "ต" มี 3 ตัว

พุทธพจน์กล่าวว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" ข้อความนี้ ถ้าจะมองเห็นภาพพจน์ชัดเจนต้องใส่สูตรตามหลักการของคณิตศาสตร์ ซึ่งก็น่าจะเป็นดังนี้

อนิจจัง/ไม่เที่ยง = ทุกขัง/เป็นทุกข์  = อนัตตา

หมายความว่า จะแยกคำใดคำหนึ่งออกไปไม่ได้  การอธิบายดังกล่าวก็เพื่อให้เห็นภาพพจน์เท่านั้น  ความเป็นจริงแล้ว อนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตา เป็นการบรรยายสภาวะเดียวกัน แต่แยกออกเป็น 3 ศัพท์เพื่อให้เห็นชัดเจนเท่านั้น

สิ่งใดเป็น "อนิจจัง" ก็ต้องเป็น ทุกขัง/อนัตตา ไปด้วย

สิ่งใดเป็น "ทุกขัง" ก็ต้องเป็น อนิจจัง/อนัตตา ไปด้วย

สิ่งใดเป็น "อนัตตา" ก็ต้องเป็น อนิจจัง/ทุกขัง ไปด้วย

โปรดดูข้อความที่ผู้เขียนขีดเส้นใต้ไว้ ดังนี้  "ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?"

ตรงนี้คำว่า "อนัตตา" ที่เป็น คำคุณศัพท์ (adjective) น่าจะแปลว่า "แปรปรวน"  ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่า "อัตตา" ที่เป็นคำคุณศัพท์ (adjective) ซึ่งแปลว่า "คงที่"

ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า ความหมายของอัตตาที่ว่า "คงที่" ผู้อ่านเอามาจากไหน ประเด็นนี้มีพุทธพจน์ยืนยัน ดังนี้

อยํ อตฺตา นิจฺโจ ธุโว สสฺสโต อวิปริณามธมฺโม

อัตตานี้มีสภาพเที่ยง คงที่ ยืนยงตลอดไป ไม่แปรเป็นอื่นอีก

(คำแปลดังกล่าวมาจากหนังสือชื่อ "หลักการพิจารณาพระนิพพานธาตุตามแนวพระพุทธดำรัสและอรรถกถา เขียนโดยพุทธธรรมประทีป)

เห็นได้ว่า คำแปลดังกล่าวสื่อความหมายได้ว่า "อัตตา" คุณศัพท์ (adjective) สมควรจะแปลว่า "เที่ยง/คงที่/ยืนยง" ในเมื่อ "อนัตตา" คุณศัพท์ (adjective) เป็นคำตรงข้าม ก็ควรจะแปลว่า "แปรปรวน" ก็ถูกต้องตามหลักของภาษาศาสตร์

ความหมายดังกล่าวนั้น ผู้เขียนยังไม่ฟันธง แต่ขอเสนอไว้เพื่อให้เกิดการถกเถียงเพื่อความรู้ต่อไป  แต่ "สิ่ง" ที่ผู้เขียนจะนำเสนอในคราวนี้ก็คือ ข้อความนี้

"นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา?"

ข้อความดังกล่าวนั้น ไม่มีพุทธวิชาการคนไหนให้ความใส่ใจหรือสนใจกันอย่างจริงจังมาก่อน  ถ้าให้ความสนใจใส่ใจอย่างจริงจังแล้ว จะไม่มีใครกล้าแปลคำอนัตตาว่า "ไม่ใช่ตัวตนหรือไม่มีตัวตนก็ได้" แน่ๆ

ในช่วงนี้ ผู้เขียนขอฟันธงเลยว่า อนัตตาจะแปลว่า "ไม่มีตัวตน" ไม่ได้อย่างเด็ดขาด เมื่อพิจารณาตามหลักภาษาศาสตร์

สำหรับการแปลอนัตตาว่า "ไม่ใช่ตัวตน" ก็ยังไม่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ถูกเพียงบางส่วนโดยบังเอิญเท่านั้น

พุทธพจน์ที่กล่าวว่า เธอทั้งหลายพึงเห็น "รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ" นั้นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า  นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา ข้อความนี้แสดงว่า "ตน" ของเรามี

คำว่า "เรา" นั้นคือ สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์ หมายถึงผู้พูดและผู้ฟังในขณะนั้นรวมอยู่ด้วยกัน  ต่อไปสังเกตคำว่า "นั่นไม่ใช่ตนของเรา" ข้อความนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า "ตน" ของเรามี

Today, there have been 4 visitors (8 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free