Web for Absolute Reality - ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา4
  Home
  Contact
  Guestbook
  ปราบมารจริงหรือไม่จริง1/1
  วิชชาธรรมกายกับการสะกดจิต 1
  "นิพพานเป็นอัตตา" โง่หรือแกล้งโง่?1
  ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา1
  => ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา2
  => ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา3
  => ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา4
  "อนัตตา" เข้าใจกันถูกต้องดีแล้วหรือ?1
  นิพพานกับความหมายตรงตัว1

ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราอย่างไร

จากที่กล่าวไว้ในหัวข้อที่ผ่านมาว่า กายมนุษย์หยาบ-กายอรูปพรหมละเอียดเป็นขั้นของสมถะ ส่วนตั้งแต่กายธรรมพระโสดาหยาบ-กายธรรมพระอรหัตละเอียดเป็นขั้นของวิปัสสนานั้น ผู้เขียนขอขยายความเพิ่มเติมเพื่อให้เข้าประเด็นชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

การเห็นกายมนุษย์หยาบนี้ไม่ต้องอธิบายเพราะต้องเห็นด้วยตา/จักษุธรรมดา แต่เห็นกายมนุษย์ละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดนั้นเป็นอย่างไร

กายมนุษย์ละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดนั้น ยังเป็นขั้นสมถะก็เพราะว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณยังเป็นอนิจจัง/ทุกขัง/อนัตตาอยู่ ยังไม่คงที่แน่นอนเป็นนิจจัง/สุขัง/อัตตา ลักษณะที่เห็นนั้น ยังมีรูปร่างเหมือนกายมนุษย์หยาบ แตกต่างกันเพียงกายนั้นใส และเครื่องแต่งกายของกายต่างๆ นั้นคล้ายกับเทวดา  ถ้าจะอธิบายกันให้เห็นภาพพจน์ง่ายๆ ก็คล้ายกับตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งคนไทยอธิบายให้เหมือนกับเทวดา  [เรื่องรามเกียรติ์นี้ ทางเอเชียอาคเนย์รับมาจากอินเดียด้วยกัน แต่ไทยดัดแปลงให้เข้ากับวัฒนธรรมของตนเอง จนตัวละครต่างๆ เป็นเทวดาไปหมด  สำหรับในอินโดนีเซียนั้น หนุมาณเองยังมีลักษณะเป็นลิงอยู่]

กายมนุษย์ละเอียด-กายอรูปพรหมละเอียดนั้นมีดวงธรรมประจำอยู่ทุกกายแต่ไม่ใหญ่มากนัก  เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งเข้าถึงกายธรรมพระโสดาหยาบ-กายธรรมพระอรหัตละเอียดซึ่งเป็นขั้นของวิปัสสนานั้น ดวงธรรมจะขยายจนเท่าหน้าตักธรรมกาย  โดยเฉพาะกายพระอรหัต ซึ่งจะเป็นกายที่จะไป "สถิตอยู่" ในอายตนนิพพานนั้น  ดวงธรรมจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหน้าตักของกายธรรมพระอรหัต คือ อย่างต่ำ 20 วา

กายธรรมพระอรหัตและดวงธรรมของกายธรรมพระอรหัตนี้เองที่พุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" หมายถึง  เพราะในการเห็นกายธรรมพระอรหัตนั้น จะเห็นทั้งกายธรรมและดวงธรรมไปพร้อมๆ กัน

 

ความเข้าใจผิดของผู้ตอบกระทู้

ผู้ตอบกระทู้ดังกล่าวได้ตอกย้ำ เมื่อมีคนมายกยอปอปั้นว่า เป็นการแปลตามตัวอักษร และซ้ำทับต่อมาอีกว่า เป็นการอธิบายเพื่อให้เข้าใจโดยง่ายนั้น  ผู้เขียนขอบอกว่า ข้อความที่ตอบกระทู้ดังกล่าว ไม่ได้เป็นการแปลตามตัวอักษร  และผู้ตอบกระทู้ดังกล่าว "ไม่ได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ" ทางด้านภาษาศาสตร์เลย แม้แต่นิดเดียว  และคำอธิบายดังกล่าว "ไม่ได้เป็นการทำให้เข้าใจโดยง่าย" แม้แต่น้อย   คนที่พยายามยกยอปอปั้น ผู้ตอบกระทู้ก็ไม่ได้เข้าใจ พุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" แม้แต่น้อยเช่นเดียวกัน  โดยผู้เขียนขอชี้แจงไปทีละประเด็นทีละเรื่องดังนี้

ผู้ตอบกระทู้ได้นำศัพท์ใหม่เข้ามาอธิบายข้อความดังกล่าวอีกหลายคำ โดยมิได้บอกที่มาว่า มาจากพระไตรปิฎกฉบับใด  ความหมายที่ให้นั้น มาจากพจนานุกรมฉบับใด และไม่ได้อธิบายตามหลักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์เลยว่า ตรงกัน/มีความหมายเหมือนกันเพราะเหตุใด ดังนี้

1) เห็น = การแจ้ง

ในกรณีนี้ ผู้ตอบกระทู้มิได้อธิบายเลยว่า "การแจ้ง" นั้นเป็นอย่างไร มีหลักฐานทางวิชาการอย่างไร  การแจ้งนั้นใช้อายตนะใดใน หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นเครื่องมือ

การแจ้งนั้น  ถ้าพิจารณาในเรื่องขันธ์ห้ากับอายนตนภายในภายนอก กล่าวคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือกายกับใจ  ซึ่งในที่นี้จะขออธิบายตามหลักวิชชาธรรมกายว่า เวทนา= เห็น, สัญญา=จำ, สังขาร=คิด, และ วิญญาณ= รู้   การที่จะเห็นรวมถึงรับรู้อายตนภายนอกได้ก็ต้องมาจากอายนตนภายในคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

คำว่า "การแจ้ง" นั้น เป็นการแสดงความเข้าใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะต้องเกิดจากอายตนภายในไปรับอายตนภายนอกมา เมื่อจำได้ก็นำมาคิด คิดอย่างถูกต้องแล้วจึงรู้  เมื่อรู้แล้วจึงเข้าใจ ดังนั้น คำว่า เห็นในข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" จึงไม่ใช่ "การแจ้ง" อย่างแน่นอน เพราะ พุทธพจน์กำหนดให้เพียงอายตนภายใน "ตา" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวถึงกระบวนการคิด การจำ การรู้ในข้อความดังกล่าว

2) พุทธะ = ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ในกรณีนี้ ผู้เขียนยอมรับได้ว่า ถูกต้อง ถึงแม้จะไม่มีการอ้างอิงแหล่งวิชาการ เพราะ เป็นคำที่รู้จักกันโดยทั่วไป  แต่อย่างไรก็ดี  คำว่า พุทธะมาปรากฏในคำอธิบายข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" ได้อย่างไร  มีความเกี่ยวโยงกันในประเด็นใด ผู้ตอบกระทู้มิได้อธิบายไว้

3) การเห็นตถาคตก็คือเห็นพุทธะ

ในกรณีนี้ ผู้ตอบกระทู้ก็ไม่ได้อธิบายให้ชัดเจนว่า ตถาคตในข้อความ "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" หมายถึง พุทธะ อย่างไร  ข้อความดังกล่าวต้องมีคำอธิบายที่หลักฐานทางวิชาการอีกมากมาย ถึงจะทำให้เข้าใจได้โดยง่าย

คำว่าพุทธะนั้น มีความหมายไปในลักษณะที่เป็นนามธรรมมากกว่าคำว่า ตถาคตในข้อความที่กล่าวถึงกันนี้  คำว่า "พุทธะ" นั้น  ควรจะเกิดจาก "การคิด" จนกระทั่ง "รู้" และ "เข้าใจ" คำว่า พุทธะ ดังกล่าวนั้น  ไม่ใช่เกิดจากการ "เห็น" ด้วยจักษุแต่เพียงอย่างเดียว  ข้อความที่ว่า  "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม"  ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปเฉพาะ "การเห็น" ด้วยตาในโดยเฉพาะทิพยจักษุหรือปัญญาจักษุเท่านั้น

4) การเห็นพุทธะ ก็คือการแจ้งในสัจธรรม การเข้าสู่การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบาน

ในกรณีนี้ ยิ่งไปกันใหญ่ว่า ผู้ตอบกระทู้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะ นำคำว่า "สัจธรรม" เข้ามาร่วมในคำอธิบายอีก  โดยไม่อธิบายหรือชี้แจงว่า การเห็นพุทธะกลายเป็นการแจ้งในสัจธรรมได้อย่างไร   นอกจากนั้นแล้ว การแจ้งในสัจจธรรมนั้น เป็นการ "เข้า" สู่ การตื่น เป็นผู้รู้ และเบิกบานอย่างไร

5) สิ่งเหล่านี้ก็คือลักษณะเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย  สุดท้ายก็คือนิพพาน

ข้อความที่สร้างความสับสนไปจนกระทั่งถึงที่สุดก็คือ คำว่า "สิ่งเหล่านี้" นั้นคืออะไรบ้าง และเป็นอย่างไร  "สิ่งเหล่านี้" มีลักษณะเป็นเบื้องต้นอย่างไร เป็นเบื้องกลางอย่างไร และเป็นเบื้องปลายอย่างไร   นอกจากนั้นแล้ว คำว่า "เบื้องปลาย" ก็น่าจะหมายถึง สุดท้ายปลายทางของสิ่งใดๆ ก็ยังกลับมีสิ่งที่ต่อจากเบื้องปลายอีกว่า "สุดท้ายก็คือนิพพาน"

ผู้เขียนขอยืนยันว่า คำอธิบายข้างต้นของผู้ตอบกระทู้ ไม่ได้เป็นการแปลหรือตีความแปลตามตัวอักษรแต่อย่างใด อีกทั้ง เมื่ออ่านแล้ว ก็ไม่ได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" เพิ่มขึ้นแต่เดิมแต่อย่างใด

ข้อเขียนของผู้ตอบกระทู้นั้น  นอกจากผู้ตอบกระทู้เองก็ยังไม่เข้าใจในข้อความที่ว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นดวงธรรม" อย่างจริงจังแล้ว  ยังทำให้ผู้ที่มีความรู้น้อย  ที่ไม่นิยมคิดด้วยสติปัญญาของตนเอง นิยมแต่เพียงนำความคิดของผู้อื่นมาเป็นความรู้ของตนเอง เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อความดังกล่าวขึ้นไปอีก

ประการสุดท้ายที่จะเตือนกันในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชนด้วยกันก็คือ ศาสนาพุทธในเป็นคำสอนที่ดีที่สุดในอนันตจักรวาลนี้  เป็นคำสอนที่สามารถจะทำให้มนุษย์สามารถพ้นความทุกข์ได้  แต่ถ้ามีคนใดคนหนึ่งอธิบายคำสอนของศาสนาพุทธออกนอกไปจากแนวทางที่ถูกต้อง โทษทัณฑ์ที่ได้รับ ก็จะรุนแรงสาหัสเทียบเท่ากับความสุขที่อาจจะได้เลยทีเดียว 

ดังนั้น  ถ้า "ไม่รู้" ก็ควรจะบอกกับผู้อื่นว่า "ไม่รู้"  "รู้" ขนาดใดก็ควรจะบอกว่า "รู้" ขนาดใด  ข้อความใดยัง "ไม่ชัดเจน" ก็ควรจะบอกว่า "ไม่ชัดเจน"  จะเป็นหนทางที่ดีว่า ที่ปลอดภัยกว่า การต้องการมีหน้ามีตามีชื่อเสียงในสังคมจอมปลอม ไม่ใช่หรือ

 

 

------------------------------------

มนัส โกมลฑา

Ph.D. (Integrated Sciences/สหวิทยาการ)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

นครราชสีมา

Email: komoltha4299@gmail.com;komoltha4299@yahoo.com

Web site: http://komoltha.page.tl

Today, there have been 4 visitors (8 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free